หน้าเว็บ

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กรณีใช้พื้นที่ทับซ้อนเพื่อพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส

กรณีใช้พื้นที่ทับซ้อนเพื่อพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส

1) พื้นที่บริเวณนี้ถึงแม้จะกล่าวได้ว่าในอดีตเป็นดินแดนในอิทธิพลของอาณาจักรขอม โดยมีภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural landscape)ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอมก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาในเชิงมานุษยวิทยาแล้วจะพบว่า “ขอมเป็นชื่อทางวัฒนธรรม ของกลุ่มชนที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธมหายาน กลุ่มชนมอญ เขมร มลายู ลาว จีน จาม หรือ ไทย ก็คือขอมทั้งสิ้น” ทั้งนี้ อาณาจักขอมซึ่งมีศูนย์กลางที่นครธมในพื้นที่กัมพูชาปัจจุบันก็ได้ล่มสลายไปแล้ว โดยสูญเสียเอกราชให้กับสมเด็จเจ้าสามพระยาแห่งอาณาจักรอยุธยาของเรา ในปี พ.ศ. 1974 (ค.ศ.1431) สิ่งที่กัมพูชารู้สึกว่าที่ใดมีภูมิทัศน์วัฒนธรรมขอมจะต้องเป็นเขตอำนาจของตน ก็เป็นเรื่องที่ไม่สมควรอ้าง เพราะเขตแดนที่กัมพูชาคิดได้สิ้นสภาพกลายเป็น “เขตแดนในอดีต (Relic boundary)” ไปแล้ว ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 1974 นั่นเอง 2) เมื่อชาติตะวันตกคือ “ฝรั่งเศส” เข้ามาล่าอาณานิคมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ได้นำแนวคิด “เขตแดนแบบโลกตะวันตก” เข้ามาด้วย จนเป็นผลให้เกิดสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 3 กุมภาพันธุ์ ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) เกิดแนวเขตแดนแบบแนวคิดตะวันตกไปตามสันปันน้ำ และเกิดแผนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีนกับสยาม (Commion de Delimitation entre L’Indo-Chine et le Siam) ซึ่งมีระวางปัญหาคือระวาง “DANGREK” เกิดขึ้น เมื่อจะพิจารณาในส่วนนี้ แนวความคิดเรื่องวิวัฒนการของแนวเขตแดนจะสามารถนำมาใช้ประกอบได้ เพราะจะเป็นเหตุผลสำคัญที้เราสามารถกล่าวได้ว่า “การพิจารณาปัญหาเขตแดน ต้องย้อนไปมองที่จุดกำเนิด” ซึ่งก็คือจุดเริ่มแรกของวิวัฒนาการเพื่อเป็นตัวตนของเขตแดนบริเวณพนมดงรักนี้ว่ามาจากสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น