หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กรณีใช้พื้นที่ทับซ้อนเพื่อพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส (ตอนจบ)

ข้อตกลงสำคัญที่เอื้อประโยชน์ต่อไทย

ข้อตกลงสำคัญนี้คือ “บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยในเรื่องการสำรวจและปักปันเขตแดนบนแผ่นดิน (Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Cambodia and the Kingdom of Thailand on the Survey and Demarcation of Land Boundary )” ซึ่งมีการลงนามกันที่กรุงพนมเปญ เมื่อ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 1990) โดยกล่าวว่า “The survey and demarcation of land boundary between the Kingdom of Cambodia and the Kingdom of Thailand shall be jointly conducted in accordance with the following documents” โดยจะเป็นการดำเนินงานร่วมกันให้สอดคล้องกับหลักฐานดังต่อไปนี้.
1. สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส เกี่ยวกับเขตแดน...ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1904 ณ กรุงปารีส(Convention between France and Siam modifying the Stipulations of the Treaty of the 3 October 1893, regarding Territorial Boundaries and other Arrangements signed at Paris, 13 February 1904)
2. ข้อตกลงสยาม-ฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม 1907 ณ กรุงเทพฯ (Treaty between His Majesty the King of Siam and President of the French Republic, signed at Bangkok, 23 March 1907)
3. แผนที่ปักปันฯ ซึ่งแนบท้ายสนธิสัญญาปี 1904 และข้อตกลงปี 1907 (Maps which are the results of demarcation works of the Franco-Siamese Commissions of Delimitation set up under the Convention of 1904 and the Treaty of 1907 between France and Siam, and other documents relating to the application of the Convention of 1904 and the Treaty of 1907 between France and Siam).
โดยทั่วไปหลักฐานและเอกสารต่างๆ จะเรียงลำดับความสำคัญตามหัวข้อ สิ่งสำคัญที่สุดคือข้อ 1, รองลงไปคือข้อ 2 และความสำคัญลำดับสุดท้ายคือข้อ 3 ซึ่งก็หมายความว่า “ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จวบจนปัจจุบัน กัมพูชาได้เข้าใจ และเห็นพ้องว่าการสำรวจเพื่อปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชานั้น จะยึดถือสนธิสัญญาปี 1904 เป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติ” ด้วยเหตุนี้ ไทยเราก็สามารถที่จะเผชิญหน้า โดยยึดหลักการของบันทึกความเข้าใจปีพ.ศ. 2543 เพื่อให้มีการสำรวจเพื่อปักปันเขตแดนกันใหม่ตามสนธิสัญญาปี 1904 ปัญหาต่างๆ ก็จะได้รับการแก้ไขอย่างสมบูรณ์

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กรณีใช้พื้นที่ทับซ้อนเพื่อพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส (ต่อ)

ข้อพิจารณาก็คือ 2.1) เมื่อศาลโลกตัดสินไปแล้วด้วยหลักการของกฏหมายปิดปาก ไทยเราก็ยอมรับคำตัดสิน และได้ดำเนินการกำหนดเส้นเขตแดนบริเวณพื้นที่ปัญหาโดยวางแนวลวดหนามขึ้นแล้ว แต่กัมพูชาไม่ได้ทักท้วง ด้วยเหตุนี้ก็เท่ากับกัมพูชาตกอยู่ภายใต้ภาวะกฏหมายปิดปากเหมือนกัน ดังนั้นกัมพูชาก็ไม่ควรเรียกร้องกรณีปัญหาพื้นที่ซ้อนทับแต่อย่างใด 2.2) แต่ถ้าหากกัมพูชายังคงดิ้นรนในเรื่องนี้ ก็ควรที่จะไปนำเอาสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 มาเป็นหลัก แล้วก็ดำเนินการในเรื่องการสำรวจเพื่อปักปันเขตแดน (Demarcation) กันขึ้นมาใหม่เสียเลย เช่นนี้ กัมพูชาก็จะไม่ได้ทั้งตัวปราสาทและพื้นที่ทับซ้อน

กรณีใช้พื้นที่ทับซ้อนเพื่อพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส

กรณีใช้พื้นที่ทับซ้อนเพื่อพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส

1) พื้นที่บริเวณนี้ถึงแม้จะกล่าวได้ว่าในอดีตเป็นดินแดนในอิทธิพลของอาณาจักรขอม โดยมีภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural landscape)ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอมก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาในเชิงมานุษยวิทยาแล้วจะพบว่า “ขอมเป็นชื่อทางวัฒนธรรม ของกลุ่มชนที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธมหายาน กลุ่มชนมอญ เขมร มลายู ลาว จีน จาม หรือ ไทย ก็คือขอมทั้งสิ้น” ทั้งนี้ อาณาจักขอมซึ่งมีศูนย์กลางที่นครธมในพื้นที่กัมพูชาปัจจุบันก็ได้ล่มสลายไปแล้ว โดยสูญเสียเอกราชให้กับสมเด็จเจ้าสามพระยาแห่งอาณาจักรอยุธยาของเรา ในปี พ.ศ. 1974 (ค.ศ.1431) สิ่งที่กัมพูชารู้สึกว่าที่ใดมีภูมิทัศน์วัฒนธรรมขอมจะต้องเป็นเขตอำนาจของตน ก็เป็นเรื่องที่ไม่สมควรอ้าง เพราะเขตแดนที่กัมพูชาคิดได้สิ้นสภาพกลายเป็น “เขตแดนในอดีต (Relic boundary)” ไปแล้ว ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 1974 นั่นเอง 2) เมื่อชาติตะวันตกคือ “ฝรั่งเศส” เข้ามาล่าอาณานิคมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ได้นำแนวคิด “เขตแดนแบบโลกตะวันตก” เข้ามาด้วย จนเป็นผลให้เกิดสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 3 กุมภาพันธุ์ ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) เกิดแนวเขตแดนแบบแนวคิดตะวันตกไปตามสันปันน้ำ และเกิดแผนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีนกับสยาม (Commion de Delimitation entre L’Indo-Chine et le Siam) ซึ่งมีระวางปัญหาคือระวาง “DANGREK” เกิดขึ้น เมื่อจะพิจารณาในส่วนนี้ แนวความคิดเรื่องวิวัฒนการของแนวเขตแดนจะสามารถนำมาใช้ประกอบได้ เพราะจะเป็นเหตุผลสำคัญที้เราสามารถกล่าวได้ว่า “การพิจารณาปัญหาเขตแดน ต้องย้อนไปมองที่จุดกำเนิด” ซึ่งก็คือจุดเริ่มแรกของวิวัฒนาการเพื่อเป็นตัวตนของเขตแดนบริเวณพนมดงรักนี้ว่ามาจากสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 นั่นเอง

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เปรียบเทียบแผนที่ บริเวณพระวิหาร

แก้ปัญหาพิพาทพระวิหารในเชิงภูมิศาสตร์การเมือง


“แก้ปัญหาพิพาทพระวิหารในเชิงภูมิศาสตร์การเมือง” โดย ดร. อนุชิต วงศาโรจน์ ตอนที่ 1


ในทางภูมิศาสตร์ ได้จัดเรื่องปัญหาเขตแดนระหว่างประเทศเป็นประเด็นหนึ่งในสาขาภูมิศาสตร์การเมือง สำหรับพื้นทีพิพาทหรือพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร บนเขาพระวิหารนั้น เกิดขึ้นจาก “แผนที่ระวาง DANGREK” ซึ่งกัมพูชาใช้เป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้เราแพ้คดีนั้น เป็นการลากแนวสันปันน้ำคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ซึ่งจำแนกที่มาของความคลาดเคลื่อนได้เป็นหัวข้อดังนี้ 1) ตัวลำห้วยที่ชื่อ “โอ-ตาเซ็ม (O. Tasem)” ฝรั่งเศสเขียนแนวลำห้วยนี้ยาวเกินความเป็นจริง จึงส่งผลให้แนวสันปันน้ำซึ่งใช้เป็นเส้นเขตแดนเบี่ยงเบนไปด้วย 2) เส้นเขตแดนที่เบี่ยงเบนไปดังกล่าว ทำให้ปราสาทเขาพระวิหารถูกกันเข้าไปในเขตกัมพูชา 3) เส้นเขตแดนที่เบี่ยงเบนไปนี้เอง เป็นที่มาของพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลมตร เพราะไปเหลื่อมล้ำกันกับแนวเขตแดนของไทยซึ่งลากไปตามแนวสันปันน้ำที่แท้จริงบนแผนที่ 1:50,000
เพราะเหตุใดตรงบริเวณเขาพระวิหาร ไทยเราจึงไม่ใช้แนวเขตแดนตามแผนที่ระวาง”DANGREK” ซึ่งคำตอบมีอยู่ 5 ประการหลัก คือ... 1) ในปี ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ศาลโลกตัดสินด้วยมติ 9 ต่อ 3 ให้เรายอมรับว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตของกัมพูชา เราก็ได้ปฏิบัติตามคำตัดสินนั้นแล้ว โดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ให้ลากเส้นกันเฉพาะตัวปราสาทให้อยู่ในเขตกัมพูชา
2) การลากเส้นดังกล่าวในข้อ 1 ทำโดยลากแนวเขตตรงบันไดที่เรียกรวมว่าบันไดนาค ลากขึ้นไปในแนวทิศเหนือเป็นระยะ 20 เมตร จากนั้นลากเส้นตั้งฉากกับกึ่งกลางแนวบันไดเป็นระยะ 100 เมตร แล้วลากต่อไปทางทิศใต้จนถึงขอบหน้าผา ณ จุดที่ใกล้กับ “เป้ยตาดี” แล้วลากเส้นโค้งไปจนสุดขอบหน้าผาตรงจุดที่เรียกว่า “บันไดหัก” เป็นอันเสร็จสิ้นการลากเส้นกันตัวปราสาทพระวิหาร 3) สำหรับพื้นที่ส่วนอื่น เราลากเส้นเขตแดนไปตามสันปันน้ำที่แท้จริง ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) ซึ่งแผนที่มาตราส่วน 1: 50,000 ของเรานั้นมีความละเอียดถูกต้องสูงกว่ามาก และเป็นที่ยอมรับในเชิงเทคนิควิธีการ เพราะเป็นการทำขึ้นมาจากรูปถ่ายทางอากาศ (Photogrammetry) 4) หลังจากเราลากเส้นเขตแดนเช่นนี้แล้ว เราก็ได้ปฏิบัติตามมติศาลโลก คือถอนทหารออกมาด้วย อีกทั้งเราได้ทำแนวลวดหนามแสดงแนวเขตไว้ด้วย โดยข้อสำคัญก็คือ “กัมพูชาได้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและฝ่ายทหารของตนเข้ามาตรวจสอบ ได้พบแนวลวดหนามดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้มีการทักท้วงแต่อย่างใด” ที่เห็นอย่างชัดเจนก็คือ “ทหารฝ่ายกัมพูชาไม่เคยล่วงละเมิดแนวลวดหนามนี้เลย
....ภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นมาร่วม 46 ปีแล้ว หากใช้คำว่านิ่งเฉย ไม่ทักท้วงคือยอมรับตามแนวคิดกฏหมายปิดปาก...กัมพูชาก็หลีกไม่พ้นกฏเกณฑ์นี้ด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เราจึงเชื่อมั่นว่า พื้นที่ซ้อนทับ 4.6 ตารางกิโลเมตร สมควรที่จะเป็นของเรา